ชื่อเต็ม | สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) The Lao People’s Democratic Republic |
ลาว
ที่ตั้ง | เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่บนใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีน ระหว่างละติจูดที่ 14 – 23 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 100 – 108 องศาตะวันออก |
พื้นที่ | 236,800 ตารางกิโลเมตร ประมาณ 148 ล้านไร่ (เกือบครึ่งหนึ่งของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 84 ของโลก) |
ภูมิประเทศ | พื้นที่ส่วนใหญ่ ร้อยละ 90 เป็นภูเขาและที่ราบสูง ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ภูเบี้ยอยู่ในแขวงเชียงขวาง สูง 2,820 เมตร สปป.ลาว มีพื้นที่เพาะปลูกเพียง 50,000 ตร.กม. หรือร้อยละ 21.11 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เนื่องด้วยตลอดแนวชายแดนของประเทศลาว ซึ่งมีความยาวรวม 5,083 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ |
อาณาเขตติดต่อ | ทิศเหนือ ติดกับ สาธารณรัฐประชาชนจีน (423 กิโลเมตร) ทิศใต้ ติดกับ สาธารณรัฐกัมพูชา (541 กิโลเมตร) ทิศตะวันออก ติดกับ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (2,130 กิโลเมตร) ทิศตะวันตก ติดกับ ประเทศไทย (1,810 กิโลเมตร) ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (236กิโลเมตร) |
ภูมิอากาศ | สปป.ลาว อยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุมแต่ไม่มีลมพายุ มีฝนตกชุกระหว่าง พ.ค.-ก.ย. อุณหภูมิ เฉลี่ยที่นครหลวงเวียงจันทน์ 25 องศา เซลเซียส (ม.ค.) และ36-37 องศาเซลเซียส (เม.ย.) ปริมาณฝนเฉลี่ย 1,715 มิลลิเมตร ต่อปี |
เมืองหลวง | นครหลวงเวียงจันทน์ เป็นนครหลวงของประเทศและเป็นเขตการปกครองพิเศษ เรียกว่า นครหลวงเวียงจันทน์ ลักษณะการปกครองคล้ายกับกรุงเทพมหานคร อยู่ทางตอนกลางของประเทศลาว มีเมืองเอกคือ จันทะบุลี มีเขตติดต่อชายแดนกับประเทศไทย ระหว่างเวียงจันทน์กับหนองคาย แขวงนครหลวงเวียงจันทน์เป็นแขวงที่เจริญที่สุดใน 17 แขวงของประเทศลาว |
เมืองสำคัญ | แขวงสะหวันนะเขต แขวงจำปาสัก แขวงคำม่วน แขวงหลวงพระบาง แขวงสะหวันนะเขต เป็นแขวงใหญ่อันดับที่ 1 ของประเทศลาว มีประชากรมากที่สุดในประเทศ อยู่ตรงข้าม จ.มุกดาหาร ประชากร 910,615 คน เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาวที่ตั้งอยู่ตอนกลางค่อนไปทางใต้ของประเทศ ทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม ทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับแขวงคำม่วน ทิศใต้ติดกับแขวงสาละวัน เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2549 ได้มีพิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 สะหวันนะเขต-มุกดาหารอย่างเป็นทางการ ซึ่งสะพานนี้เป็นเส้นทางเชื่อมตะวันออก-ตะวันตก จากเวียดนามถึงพม่า ทำให้แขวงสะหวันนะเขตกลายเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญอีกแห่งของลาว รัฐบาลลาวได้ประกาศจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุนในรูปแบบพิเศษ แขวงจำปาสัก มีประชากรมากเป็นอันดับสาม มีพื้นที่ติดต่อกับ จ.อุบลราชธานีประชากร 658,165 คน เป็นแขวงหนึ่งของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของประเทศ ติดชายแดนประเทศไทยและกัมพูชา มีเมืองปากเซเป็นเมืองหลักของแขวงและเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของลาว (รองจากเวียงจันทน์และเมืองไกสอน พมวิหาน) ถือว่าเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ รวมไปถึงการท่องเที่ยวของลาวตอนใต้ เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีแม่น้ำโขงไหลผ่านกลาง และเกิดเกาะแก่งเป็นจำนวนมากจนได้ชื่อว่า “ดินแดนสี่พันดอน” แขวงคำม่วน มีประชากร 376,180 คน และมีป่าไม้และแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์อยู่ตรงข้าม จ.นครพนม ประกอบด้วยหลายชนชาติ ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันมีชายแดนติดกับแขวงบอริคำไชย แขวงสะหวันนะเขต ประเทศไทย และ ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม แขวงคำม่วน เป็นเขตที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านธรรมชาติ และศิลปะ วัฒนธรรม ซึ่งเป็นมรดกสืบทอดมาแต่ดึกดำบรรพ์จนถึงปัจจุบัน แขวงหลวงพระบาง เป็นเมืองหลวงเก่า เป็นเมืองมรดกโลกและเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เป็นแขวงหนึ่งของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำคานซึ่งไหลมาบรรจบกัน และมีเมืองเอกซึ่งเป็นเมืองที่องค์การยูเนสโกได้ยกย่องให้เป็นมรดกโลก ด้วยแขวงหลวงพระบางมีประชากร 452,900 คน ทางทิศเหนือติดกับแขวงพงสาลี แขวงอุดมไชย และแขวงหลวงน้ำทา ทิศตะวันออกติดกับแขวงหัวพันและเวียดนาม ทิศตะวันตกติดกับแขวงไชยะบุรี และทิศใต้ติดกับแขวงเชียงขวางและแขวงเวียงจันทน์ มีพื้นที่ทั้งหมด 16,875 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงพระบางได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลกในปี 2541 จากองค์การยูเนสโก |
เวลา | เท่ากับประเทศไทย (GMT +7) |
เชื้อชาติ | ประกอบด้วยชาติพันธุ์ลาวลุ่ม (กลุ่มคนเชื้อชาติลาว ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก) ร้อยละ 55 ลาวเทิง (เช่น ชนเผ่าขมุ) ร้อยละ 11, ลาวสูง (เช่น ชนเผ่าม้ง) ร้อยละ 8 อื่นๆ ร้อยละ 26 |
ศาสนา | ศาสนาพุทธ (ร้อยละ 67) ศาสนาคริสต์ (ร้อยละ 1.5) อื่นๆ (ร้อยละ 31.5) ที่มา: CIA The World Factbook |
ภาษา | ภาษาราชการคือ ภาษาลาว ภาษาที่ใช้ในการติดต่อธุรกิจ ได้แก่ ภาษาไทย อังกฤษ และฝรั่งเศส ภาษาท้องถิ่นอื่นๆ ได้แก่ ภาษาไท ภาษาม้ง |
สกุลเงิน | “กีบ” (Kip) |
http://www.fact.fti.or.th/th